เคยสงสัยหรือไม่ว่าอะไรคือความแตกต่างระหว่าง มอเตอร์เกียร์ และมอเตอร์กระแสตรง สิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุด ระหว่างมอเตอร์ทั้ง2 แบบ น่าจะเป็นมอเตอร์กระแสตรง สามารถทำให้เกิดความเร็วในการหมุนของเพลาโดยใช้ ยอยกากบาท (universal joint) ช่วยส่งต่อแรงหมุนในอัตราที่สูงแต่เกิดแรงบิดต่ำ ในขณะที่ Motor gear จะมีความเร็วรอบต่อนาทีต่ำแต่ทำให้เกิดแรงบิดได้สูง ทำให้ใช้งานได้หลากหลายมากกว่าการใช้มอเตอร์กระแสตรง ดังนั้น universal joint จึงมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเพลาให้ลื่นไหล
การประยุกต์ใช้งาน มอเตอร์เกียร์ มักพบในอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติ จะเห็นได้ว่า Motor Gear ถูกนํามาใช้ในกระบวนการผลิตทั้งหมด สามารถพบได้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การปรับเสาอากาศของงานโทรคมนาคม, ระบบล็อคความปลอดภัย, ตู้จําหน่ายสินค้าอัตโนมัติ, เครื่องจ่ายอาหารและเครื่องดื่ม, เครื่องชงกาแฟ, เครื่องตัดหญ้า, ระบบอัตโนมัติในบ้าน, ฟิตเนส, การปรับโช้คอัพ และซันรูฟ ในอุตสาหกรรมยานยนต์, เครื่องจักร CNC ฯลฯ มาทำความรู้จักคุณสมบัติมอเตอร์เกียร์แต่ละเภทเพื่อเลือกใช้งานได้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
มอเตอร์เกียร์ 4 ประเภท มีอะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร?
- มอเตอร์เกียร์ HELICAL GEAR (FOOT / FLANGE MOUNT)
ภาพรวมของมอเตอร์เกียร์แบบขดลวด (HELICAL GEAR) เป็นเกียร์แบบขดลวด ที่ขับเคลื่อนแบบเชิงเส้นด้วย AC หรือ DC ที่ใช้เฟืองเกลียวรูปสกรู (ตัวหนอน) ในการหมุนเฟืองเดือยปกติของ Motor gear แบบขดลวด มักใช้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ การบินและอวกาศ การจัดการวัสดุและหุ่นยนต์ ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ ของการใช้ Motor gear แบบขดลวดจะมีมอเตอร์เบรก (motor brake) 2 แบบ คือ แบบหน้าแปลน (FLANGE MOUNTED) และแบบขาตั้ง (FOOT MOUNTED)
การใช้งานมอเตอร์ 2 ชนิดนี้ ถูกนํามาใช้งานอย่างหลากหลายรวมถึงใช้ในระบบสายพานลําเลียง ปั๊ม และคอมเพรสเซอร์ มีความทนทาน สำหรับแบบ FLANGE MOUNT ให้แรงบิดเอาต์พุตสูงถึง 90 - 45,000 Nm และมีกำลังมอเตอร์ 0.12 kW – 30 kW แต่ถ้าเป็นแบบ FOOT MOUNT จะมีแรงบิดเอาต์พุต 10 - 18,000 Nm และมีกำลังมอเตอร์ 0.12 kW – 160 kW ซึ่งน้อยกว่าแบบแรก แต่อัตราทดเกียร์จาก 1.5-300 เท่ากัน และสามารถทํางานในพื้นที่ที่มีเสียงรบกวนต่ำ จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม สําหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย - มอเตอร์เกียร์ HELICAL BEVEL GEAR
คําจํากัดความของ Helical Bevel Gear หมายถึง มอเตอร์เกียร์ ที่เอียงแบบขดลวด โดยเพลาของชุดเกียร์ทำมุม 90 องศา อาจให้ความหนาแน่นของกําลังสูงเพราะแรงบิดเอาต์พุต 90 - 45,000 Nm. และมีกำลังมอเตอร์ 0.12 kW – 30 kW เท่ากับ HELICAL GEAR จึงเหมาะสําหรับใช้กับงานมอเตอร์เกียร์เชิงมุมต้องการความหนาแน่นของพลังงานสูง และแรงบิดเอาต์พุตของมอเตอร์เกียร์แบบเกลียวเอียง มักใช้ในสายพานลําเลียงสัมภาระ ตัวยกเชือก วาล์วควบคุมการไหล และเครื่องผสมในอุตสาหกรรม
เนื่องจาก Helical Bevel Gear มีขนาดเล็กและให้พลังงานแบบจัดเต็ม จึงเป็นลักษณะเด่นของกระปุกเกียร์แบบเกลียวเอียง คือ ฟันโค้งอยู่ในฐานรูปกรวยและสร้างการเคลื่อนที่แบบหมุนระหว่างเพลาที่ไม่ขนานกัน จึงมีความแข็งแรงส่งผลให้การทํางานเงียบ เหมาะสําหรับการใช้งานที่ต้องการแรงบิดสูงและกําหนดค่าได้อย่างแม่นยำในการตัดเฉือนสูง เช่น งานคอนกรีต เหล็ก Oil พลาสติก ยานยนต์ และแร่ธาตุ นอกจากนี้ยังมีความสามารถ ในการถ่ายโอนพลังงานดีกว่า มอเตอร์เกียร์ แบบหนอน ทําให้ชุดเกียร์เอียงแบบขดลวด มีประสิทธิภาพสูงมาก และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานอีกด้วย - มอเตอร์เกียร์ CYCLODRIVE GEAR
ถ้าพูดถึงกลไกในการลดความเร็วของเพลาอินพุตตามอัตราส่วนที่กําหนด Cyclo Drive Gear ถือว่าเป็น มอเตอร์เกียร์ อีกหนึ่งชนิด ที่มีกำลังไฟฟ้าเพียง 0.1 kW – 132 kW และอัตราการทดเกียร์ในอัตราที่สูงถึง 2.5-658,503 ตรงข้ามกับขนาดที่เล็กกะทัดรัด เพลาอินพุตจะขับเคลื่อนแผ่นดิสก์แบบไซโคลลอยด์ แล้วจะขับเฟืองวงแหวนที่อยู่กับที่ให้เคลื่อนเพลาส่งกำลังออกไป ทั้งนี้ไซโคลไดรฟ์เป็นมอเตอร์เกียร์แบบสเต็ปอัพ ที่ไม่มีล้อเกียร์ อาจเกิดการสูญเสียอย่างฉับพลันจากโอเวอร์โหลดดังนั้นความจริงที่ว่า ไซโคลไดรฟ์ เหนือกว่ากลไกเกียร์แบบดั้งเดิม เนื่องมาจากการทํางานด้วยแรงกลิ้งและไม่สัมผัสกับแรงเฉือน จึงทำให้มีความทนทานมากกว่า มอเตอร์เกียร์ แบบอื่น ๆ และสามารถดูดซับ แรงกระแทกที่รุนแรงแบบ Shock load ได้ถึง 500% ของ Load ปกติ
ดังนั้นเครื่องจึงสามารถทำงานได้ตลอดทั้งวัน โดยไม่ต้องพักเครื่องก็ได้และสามารถติดตั้งได้ในทุกองศา ไม่ว่าจะเป็นแนวเอียงทะแยงมุมก็ตาม อีกทั้งยังง่ายต่อการติดตั้ง ที่สำคัญไม่มีการใช้น้ำมัน (oil) หรือจาระบีที่นอกเหนือจากสารหล่อลื่นในห้องเกียร์ ไซโคลไดรฟ์ สามารถนำไปประยุกต์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น เครื่องเติมอากาศ สายพานลําเลียง ไดรฟ์เครน เครื่องติดตามพลังงานแสงอาทิตย์ เครื่องป้อน คูลลิ่งทาวเวอร์ เป็นต้น - มอเตอร์เกียร์ WORM GEARWORM GEAR
ระบบเกียร์แบบหนอน (สกรู) ที่ให้กำลังไฟฟ้าสูงที่สุด ในบรรดา มอร์เตอร์เกียร์ ชนิดต่าง ๆ คือ 1/8HP ถึง 10 HP และมีอัตราทดเกียร์ 1:5 ถึง 1:100 ลักษณะของเกียร์ชนิดนี้ เป็นเฟืองตัวหนอนแบบ motor brake ที่สามารถควบคุมความเร็วได้ภายในตัว มักใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง การสอบเทียบเครื่องมือลิฟต์ และประตู ดังนั้นหน้าที่หลักของเฟืองตัวหนอน จึงใช้เพื่อเพิ่มแรงบิด และลดความเร็วของเกียร์ลง นั่นเอง
ความแตกต่างระหว่างเฟืองตัวหนอนและเฟืองเกลียว คือ มอเตอร์เกียร์ หนอนจะมีล้อหนอนที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่เชื่อมต่อกับฟันเฟืองด้านบนของเพลาตัวหนอนเครื่องยนต์สามารถสร้างพลังงาน จากการหมุนผ่านแกนที่ไม่ตัดกัน และการตั้งฉากของล้อหนอน อาจส่งผลให้ความเร็วลดลงอย่างมาก เพราะมี backstop ในตัว จึงมีประโยชน์ในการใช้โหลดของหนักและมีแรงกระแทกสูง เช่น อุตสาหกรรมเคมีและปุ๋ย อุปกรณ์บด อุปกรณ์บรรจุ สายพานลําเลียง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเฟืองตัวหนอน แบบเพลายื่น (Solid Shaft) ที่มีกำลังไฟฟ้าเท่ากัน แต่มีอัตราทดเกียร์สูงกว่า worm gear ปกติ คือ 1:10 ถึง 1:60 นั่นเอง
หลังจากที่อ่านจบแล้วมีคำถามหรือข้อมูลที่ต้องการเพิ่มเติม ติดต่อ บริษัท ทอร์ชั่น(ไทยแลนด์) จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน มอเตอร์เกียร์ พร้อมให้บริการและคำแนะนำเกี่ยวกับ Motor gear สินค้าอุตสาหกรรมต่าง เช่น ยอยกากบาท (Universal Joint), Power Lock, ยอยโซ่, pulley, มอเตอร์เกียร์ คุณภาพสูง พร้อมทีมงานผู้เฉพาะทางคอยบริการให้คำปรึกษาแบบละเอียด เกี่ยวกับสินค้าประเภทนั้น ๆ ตามที่คุณต้องการ
สั่งซื้อสินค้ามอเตอร์เกียร์ Universal Joint pulley หรืออื่น ๆ
Tel : 089 338 7708, 089 229 1041
E-mail : torsion.thailand@gamil.com
Website : www.torsion-th.com
Facebook : https://www.facebook.com/torsion.thailand